ผู้หญิงหลายคนมีประสบการณ์และได้รับความเดือดร้อนจากการไอ จาม หัวเราะ แล้วมีอาการปัสสาวะเล็ดหรือปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ทันตั้งตัว ไม่สามารถกลั้นไว้ได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในประจำวันอย่างมาก ส่วนใหญ่ผู้หญิงที่มีอาการไอ จาม ปัสสาวะเล็ดไม่กล้าที่จะพูดถึงหรือเข้ารับการรักษาเพราะรู้สึกอาย บางคนละเลยจนมีอาการหนักขึ้น เมื่อเริ่มมีอาการไอ จาม ปัสสาวะเล็ดแล้ว ควรดูแลรักษาอย่างไร เอสติมา คลินิก มีความรู้มาฝากค่ะ
ปัสสาวะเล็ด…คืออะไร?
ปัสสาวะเล็ด” หรือ “อาการช้ำรั่ว” (Urinary Incontinence) เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดสามารถเป็นได้กับทุกเพศ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยจะเริ่มมีอาการตั้งแต่วัยทำงานไปจนถึงช่วงอายุที่เริ่มเข้าสู่วัยทอง หรือคุณแม่หลังคลอด สาเหตุหลักของอาการปัสสาวะเล็ดมาจากความผิดปกติของระบบประสาท กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และความอ่อนแอของอุ้งเชิงกราน หรือมีการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันของกระเพาะปัสสาวะและหูรูด ส่งผลให้ปัสสาวะไหลซึมออกมาและควบคุมไม่ได้ เช่น ไอ จาม ปัสสาวะเล็ด การยกของหนัก หรือจากการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ไอ จาม ปัสสาวะเล็ด…เริ่มเป็นได้ตั้งแต่อายุเท่าไร?
ปัสสาวะเล็ด” หรือ “อาการช้ำรั่ว” (Urinary Incontinence) เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดสามารถเป็นได้กับทุกเพศ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยจะเริ่มมีอาการตั้งแต่วัยทำงานไปจนถึงช่วงอายุที่เริ่มเข้าสู่วัยทอง หรือคุณแม่หลังคลอด สาเหตุหลักของอาการปัสสาวะเล็ดมาจากความผิดปกติของระบบประสาท กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และความอ่อนแอของอุ้งเชิงกราน หรือมีการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันของกระเพาะปัสสาวะและหูรูด ส่งผลให้ปัสสาวะไหลซึมออกมาและควบคุมไม่ได้ เช่น ไอ จาม ปัสสาวะเล็ด การยกของหนัก หรือจากการเคลื่อนไหวของร่างกาย
อาการปัสสาวะเล็ด แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
- การที่มีปัสสาวะไหลออกมา โดยไม่ตั้งใจ ซึ่งเกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้มีแรงดันเพิ่มขึ้นในช่องท้อง หรือแรงกดที่กระเพาะปัสสาวะ เช่น ไอ จาม หัวเราะ ยกของหนัก หรือจากการเคลื่อนไหวของร่างกาย
- อาการปัสสาวะเล็ด หรือไอ จาม ปัสสาวะเล็ด จะพบได้ในผู้หญิงทุกกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่แล้วมีสาเหตุมาจากภาวะอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ ซึ่งเป็นผลมาจากการคลอดลูกหลายคน, ภาวะไอเรื้อรัง, คนอ้วน หรือ ภาวะหมดประจำเดือน
- อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ คือ ภาวะที่ผู้หญิงไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ทำให้ไปห้องน้ำไม่ทัน มีปัสสาวะราด ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อย และเร็วกว่าปกติ เชื่อว่าเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาท ซึ่งควบคุมการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวบ่อย และบีบตัวไวกว่าปกติ
3. ปัสสาวะเล็ด แบบผสม
- ผู้หญิงบางคนอาจจะมีอาการทั้งสองแบบข้างต้นรวมกัน (Mixed Urinary Incontinence)
- ผู้หญิงกลุ่มนี้จะมีอาการปัสสาวะไหลโดยไม่ตั้งใจ เนื่องจากน้ำปัสสาวะล้นกระเพาะปัสสาวะ โดยไม่มีความรู้สึกว่ากำลังปวดปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากระบบประสาท ที่ควบคุมการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะไม่ทํางาน
เช็คอาการ คุณมีภาวะปัสสาวะเล็ดแล้วหรือยัง?
7 คำถามที่จะช่วยเช็คสุขภาพของคุณว่าเริ่มมีปัญหาปัสสาวะเล็ดแล้วหรือไม่ โดยเริ่มจากการสังเกตุตัวเองแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
- คุณมีปัสสาวะไหลซึมอยู่ตลอดเวลา หรือไม่?
- ปัสสาวะของคุณไหล โดยไม่คาดคิด ใช่ไหม?
- ปัจจุบันคุณกำลังสวมแผ่นซับใน เพื่อป้องกันการรั่วซึม ใช่หรือไม่?
- อาการปัสสาวะเล็ด ทำให้คุณเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของคุณ ใช่ไหม?
- คุณมีปัญหาเวลากลั้นปัสสาวะ ซึ่งทำให้คุณต้องรีบไปเข้าห้องน้ำ ใช่ไหม?
- คุณมีปัสสาวะเล็ดระหว่างการไอ, จาม, หัวเราะ, ย่อตัว, ออกกำลังกาย หรือยกของหนัก?
- เมื่อคุณวางแผนการเดินทาง หรือออกไปข้างนอก คุณตัดสินใจที่จะไปในที่ ที่มีห้องน้ำด้วย ใช่ไหม?
วิธีรักษาอาการไอ จาม ปัสสาวะเล็ดด้วยตัวเอง
มีตั้งแต่วิธีง่ายๆ ที่สามารถรักษาอาการไอ จาม ปัสสาวะเล็ดได้ด้วยตัวเองได้
1. หัดปัสสาวะให้เป็นนิสัย
ควบคุมการถ่ายปัสสาวะให้เป็นไปตามกิจลักษณะ โดยการถ่ายปัสสาวะไม่บ่อยเกินไป ซึ่งปกติควรปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 4-8 ครั้ง หากมากกว่านี้ถือว่ามากเกินไป หรือไม่ควรน้อยกว่านี้
2. บริหารอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง
ด้วยการฝึกขมิบช่องคลอด สามารถทำได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ด้วยการขมิบกล้ามเนื้อรอบ ๆ ช่องคลอด ไม่เกร็งหน้าท้องและหลังหายใจเข้า-ออกลึก ๆ นับ 1-10 แล้วคลายออกนับเป็น 1 ชุด ทำเรื่อย ๆ จนครบ 45 ชุดต่อวัน ใช้ระยะเวลานานพอควรกว่าจะเห็นผล
3.ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
การดื่มน้ำน้อยเกินไป จะทำให้ปัสสาวะเข้มข้นและทำให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะปัสสาวะได้ และควรงดเว้นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์รวมทั้งน้ำอัดลม เพราะจะยิ่งระคายเคืองและกระตุ้นให้เกิดการปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นได้
4.ลดน้ำหนัก
น้ำหนักตัวเยอะ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้ การควบคุมน้ำหนักก็เป็นอีกหนึ่งการรักษาอาการไอ จาม ปัสสาวะเล็ด